การแชร์คลิปผู้ป่วยทางจิตผิดกฎหมายจริงหรือ?

ตามที่มีข่าวออกว่า โฆษกสนง.ศาลยุติธรรมและนายแพทย์กำปนาท ตันสิถบุตรกล เปิดเผยออกมาให้ข้อมูลว่า
ผู้ที่ทำการเปิดเผยคลิปการอาละวาดของ ชิดชนก แผ่นสุวรรณ ในที่ต่างๆ ทั้งที่ ขนส่งและการไฟฟ้า อาจมีความผิดตาม มาตรา 16 ตาม พรบ.สุขภาพจิต .. 2551 นั้น





มาลองดูกฎหมายกันก่อนดีกว่าครับ


ตาม มาตรา 16 ห้ามมิให้ผู้ใดเปิดเผยข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยในประการที่น่าจะเปิดความเสียหายต่อผู้ป่วย เว้นแต่ 1)กรณีที่อาจจะเกิดอันตรายต่อผู้อ่าน 
2)เพื่อความปลอดภัยของสาธารณชน 
3)มีกฎหมายเฉพาะบัญญัติให้เปิดเผย


ผมเข้าใจว่า ความผิดการเปิดเผยข้อมูลผู้ป่วยนั้นตาม มาตรา 16 พรบ. สุขภาพจิต นั้น องค์ประกอบจำเป็นต้องมี "ข้อมูลด้านสุขภาพ" ของผู้ป่วยที่เป็นความลับไว้ก่อน


กล่าวคือ กฎหมายนี้เป็นกฎหมายที่มีเจตนารมณ์ในการป้องกันไม่ให้ผู้ที่ทำการรักษาหรือเกี่ยวข้องกับการรักษาของผู้ป่วยนั้นเปิดเผยข้อมูลของผู้ป่วย
(เรากำลังต้องการให้บุคลากรที่เกี่ยวเนื่องกับการรักษา มีจรรยาบรรณ ethics ในการไม่เปิดเผยข้อมูลในการรักษาผู้ป่วยทางจิต เนื่องจากเป็นสิทธิของคนป่วยที่จะได้รับการป้องกันข้อมูลส่วนตัว)


 
ซึ่งเราจะเห็นได้จากมาตรา15 ที่ว่าด้วย
"ผู้ป่วยมีสิทธิ์ดังต่อไปนี้ .... 
(2)ได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยและการบำบัดรักษาไว้เป็นความลับ เว้นแต่กฎหมายบัญญัติไว้ให้เปิดเผยได้"
แต่กรณีที่ประชาชนเผยแพร่คลิปกันอยู่ในปัจจุบัน อยู่นั้นไม่ใช่ "ข้อมูลสุขภาพ" ที่ปกปิดความลับตามมาตรา 15 (ประชาชนชาวเน็ตไม่ได้เปิดเผยว่า เค้าเป็นโรคอะไร แต่ เปิดเผยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วในที่สาธารณชน)
เพราะฉะนั้น ผมไม่คิดว่า การเผยแพร่คลิปของประชาชนที่ในกรณี คุณ ชิดชนก แผ่นสุวรรณจะเป็นความผิดตามพรบ.นี้ครับ (ถ้าจะผิด โฆษกศาลอาจจะผิดคนแรกเลยนะครับ ว่าคุณชิดชนกป่วยเป็นโรคทางจิต)
และถึงแม้ผู้ใดจะตีความว่า "คลิปดังกล่าวเป็นข้อมูลสุขภาพ" การที่ผู้กระทำมีตำแหน่งหน้าที่เป็นข้าราชการตุลาการ และ มีความประพฤติตามคลิปดังกล่าว การเผยแพร่คลิปนั้นทำได้เนื่องจากเข้าข้อยกเว้นของมาตรา 16 เนื่องจากผู้กระทำมีพฤติการณ์ในการโยนข้าวของ และ ขับรถชนแผงกั้นซึ่งเป็นกรณีที่อาจเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยหรือผู้อื่นครับ



ผมคงยังไม่ขอพูดถึงประเด็น ความผิดหมิ่นประมาท เพราะอาจจะทำให้บทความนี้ยาวเกินไป (ถ้าสั้นๆก็คือผมเห็นว่าเป็นกรณีการติชมด้วยความเป็นธรรม ตามวิสัยที่ประชาชนพึ่งกระทำ ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท)

มันคงหมดยุคแล้วที่การพยายามจะจำกัดความเสียหายของข่าวแย่ๆที่เกิดกับใครก็ตามด้วยกฎหมายครับ มาถึงยุคโซเชียล ผมคิดว่า มันต้องใช้ศิลปะมากกว่ากฎหมายเยอะครับ

สำหรับใครที่อยากอ่านกฎหมายนี้ฉบับเต็ม ดาวโหลดได้ที่นี่ครับ



Comments

Popular posts from this blog

ล้อการเมืองของจุฬา หายไปไหน ผมมีเรื่องมาเล่าให้ฟังครับ

TrueMove H ไม่น้อยหน้า Facebook กรณีเคมบริดจ์อนาลิติกา ทำข้อมูลลูกค้ารั่ว 46,000 ราย

ทำไมแท็กซี่จึงปฎิเสธผู้โดยสาร (แล้วจะแก้ปัญหายังไงดีนะ)