ประชานิยม แจกเงิน แจกถุง แจกนามบัตร เป็นการซื้อเสียงหรือไม่

คริส โปตระนันทน์
นิสิตชั้นปีที่ 3

บทความในวิชากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
สอนโดย รศ.ดร. กมลชัย รัตนสกาววงศ์
คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาจมีคำกล่าวมากมายว่า ที่ประเทศไทยไม่เจริญ ทั้งๆที่ประเทศไทยทำเลที่ตั้งก็ดี ทรัพยากรธรรมชาติก็มากมาย ก็เนื่องจากการทุจริตของบรรดานักการเมืองที่เป็นผู้บริหารประเทศ และสาเหตุของปัญหานี้ที่เราได้ยินกันบ่อยมากที่สุดก็คือ การซื้อเสียง เนื่องจากการซื้อเสียงทำให้เราได้คนที่ไม่ดี ไม่เก่ง เข้ามาบริหารประเทศ และมิหนำซ้ำหลังจากเข้ามาแล้ว ยังเข้ามายังเข้ามาถอนทุน จนมีบางท่านกล่าวกันว่าระบอบการเมืองไทยในปัจจุบันเป็นระบอบธนกิจการเมือง แต่อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในปัจจุบันก็คือ การกระทำอย่างไรจึงจะถือว่าเป็นการซื้อเสียง (Vote Buying) ไม่ว่าจะเป็นนโยบายประชานิยมสมัยรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จนถึง ประชานิยมรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รวมไปถึงกรณีล่าสุดที่เกิดขึ้นสดๆร้อน กับกรณีของนายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย ซึ่งแจกเงินงบประมาณของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พร้อมนามบัตรให้ประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา
“มาตรา ๕๓ ห้ามมิให้ผู้สมัครหรือผู้ใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิ
เลือกตั้งลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้แก่ตนเอง หรือผู้สมัครอื่น หรือพรรคการเมืองใด หรือให้งดเว้น
การให้แก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
() จัดทำ ให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้ หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ ทรัพย์สิน หรือ
ผลประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ แก่ผู้ใด
() ให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดไม่ว่าจะโดยตรง
หรือโดยอ้อม แก่ชุมชน สมาคม มูลนิธิ วัด สถาบันการศึกษา สถานสงเคราะห์ หรือสถาบันอื่นใด
() ทำการโฆษณาหาเสียงด้วยการจัดให้มีมหรสพหรือการรื่นเริงต่าง
() เลี้ยงหรือรับจะจัดเลี้ยงผู้ใด”
ก่อนที่จะพิจารณาถึงกรณีต่างๆนั้น เราควรรู้เสียก่อนว่า การกระทำใดจะเป็นการซื้อเสียงหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับเกณฑ์อะไรบ้าง ซึ่งเกณฑ์หลักๆทั่วไปในกฎหมายจะอยู่ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐ ในมาตรา 54 ข้างต้นนั้นจะเห็นได้ว่าองค์ประกอบของมาตรานี้คือ

1. ห้าม
2.ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองหรือผู้ใด
3.กระทำการเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น
3.1  จัดทำให้ แก่ผู้ใด
3.2   เสนอให้ แก่ผู้ใด
3.3   สัญญาว่าจะให้ แก่ผู้ใด
3.4   จัดเตรียมเพื่อจะให้แก่ผู้ใด
3.5   ให้ ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมแก่ชุมชน สมาคม มูลนิธิ วัด สถาบันการศึกษา สถานสงเคราะห์ หรือสถาบันอื่นใด
3.6    เสนอให้ ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมแก่ชุมชน สมาคม มูลนิธิ วัด สถาบันการศึกษา สถานสงเคราะห์ หรือสถาบันอื่นใด
3.7     สัญญาว่าจะให้ ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมแก่ชุมชน สมาคม มูลนิธิ วัด สถาบันการศึกษา สถานสงเคราะห์ หรือสถาบันอื่นใด
4. ทรัพย์สิน หรือ ประโยชน์อื่นใด อันอาจคำนวณเป็นเงินได้
5. หรือการกระทำดังต่อไปนี้
1. ทำการโฆษณาหาเสียงด้วยการจัดให้มีมหรสพหรือการรื่นเริงต่าง ๆ
2. เลี้ยงหรือรับจะจัดเลี้ยงผู้ใด
6.เพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้แก่ตนเอง หรือผู้สมัครอื่น หรือพรรคการเมืองใด หรือให้งดเว้นการให้แก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด
ในหลายๆประเด็นก็ค่อนข้างก็ชัดเจนแล้วในทางปฎิบัติ อย่างเช่น การให้เงิน จัดเตรียมให้ หรือเสนอให้ การจัดมหรสพรื่นเริง หรือการจัดเลี้ยงแบบธรรมดาๆ ทั่วๆไป แต่ที่ยังเป็นที่ถกเถียงกันก็คือคำว่า เสนอให้ สัญญาว่าจะให้นั่นเอง  เพราะเนื่องจากกรณีอย่างผู้สมัครสัญญาว่าถ้าได้รับเลือกตั้งจะทำอะไรบางอย่างให้ เช่น สร้างรถไฟฟ้า สร้างถนน จะเป็นการซื้อเสียงหรือไม่ และนอกจากนี้ กรณีเป็นเงินของผู้สมัครเอง และได้มี การให้ จัดเตรียมให้ จัดเลี้ยง ก่อนจะมีการเลือกตั้งก็ชัดเจนว่าเป็นความผิดแน่นอน แต่ถ้าเกิดเป็นการกระทำโดยใช้เงินของรัฐซึ่งเป็นงบประมาณแผ่นดิน จะถือว่าเป็นการซื้อเสียงหรือไม่ และในกรณีที่เป็นนโยบายประชานิยม คือมีการลดแลกแจกแถม ประโยชน์ต่างๆแก่ประชาชนโดยนโยบายรัฐบาลจะถือว่าเป็นการซื้อเสียงหรือไม่

กรณีเปรียบเทียบในต่างประเทศที่น่าจะศึกษาก็คือ กรณีของนาง มาร์การ์เร็ท แทชเชอร์ อดีตนายกรัฐมนตรีแห่งอังกฤษในช่วงปี 1979–1990 ที่ถือได้ว่าเป็นนายกรัฐมนตรีที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุดคนนึงในโลก ซึ่งในระหว่างช่วงการดำรงตำแหน่งของเธอนั้น เธอก็ได้ทำการยุบสภาหลายรอบ แต่ก่อนที่จะยุบสภาแต่ละครั้ง ก็ได้ทำการคืนภาษีให้กับประชาชนก่อนทุกครั้ง ซึ่งก็เพื่อหวังคะแนนเสียงที่จะได้จากการเลือกตั้ง แต่ถามว่า เป็นการซื้อเสียงหรือไม่นั้น คำตอบคือ การกระทำของนางมาการ์เร็ต แธทเชอร์นี่ไม่ถือว่าเป็นการซื้อเสียงเนื่องจากเป็นการคืนเงินที่เป็นงบประมาณแผ่นดิน ไม่ใช่การเอาเงินส่วนตัวของนางไปแจกเอง เพราะฉะนั้นจะถือว่าเป็นการซื้อเสียงไม่ได้ หรืออย่างกรณีของนายจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช อดีตประธานาธิปดีของสหรัฐอเมริกาที่ได้ทำการคืนภาษีให้กับชาวอเมริกันถึงหัวละ 800 ดอลลาร์ หรือ 1600 ดอลลาร์ต่อครอบครัว ก่อนการเลือกตั้งใหม่โดยอ้างว่าเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น ก็เป็นการซื้อเสียงเช่นกัน ต้องถือว่าเป็นการบริหาราชการแผ่นดินเนื่องจากใช้เงินจากงบประมาณแผ่นดิน ไม่ใช่เงินส่วนตัว

หันกลับมาดูประเทศไทยกันบ้าง นโยบายประชานิยมไม่ว่าจะเป็นกองทุนหมู่บ้าน ของท่านอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ตลอดจนนโยบายประชานิยมแจกเงินประกันสังคมคนละ 2000 บาทแก่ผู้มีรายได้น้อยรวมไปถึงการแจกถุงยังชีพของท่านนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ล้วนแล้วแต่ใช้เงินของรัฐทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นกรณีเหล่านี้จึงไม่ใช่การซื้อเสียงที่เกิดจากเงินส่วนบุคคลอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่า จุดสำคัญที่สุดที่จะดูว่า การกระทำต่างๆทั้งหลายทั้งปวงนั้น เป็นการซื้อเสียงหรือไม่ จะต้องดูจากแหล่งที่มาของเงินเป็นหลัก เนื่องจากหากไปดูในจุดต่างๆขององค์ประกอบอาจจะทำให้เกิดการสับสนได้ง่าย เพราะไม่ว่าพรรคใดๆก็จะต้องพยายามทำสิ่งที่ประชาชนชื่นชอบที่สุดอยู่แล้ว การสัญญาว่าจะให้นั้นก็ต้องถือว่าเป็นนโยบายของพรรคหรือผู้สมัครนั้นๆที่จะพยายามให้ประชาชนเลือกตนเองให้มากที่สุด และในกรณีของการให้สิ่งของต่าง เงินช่วยเหลือ ในระหว่างดำรงตำแหน่งนั้นก็ต้องถือว่าเป็นการบริหารราชการแผ่นดินโดยทั่วไปตามแนวนโยบายของพรรคนั้นๆ ไม่ใช่การซื้อเสียงแต่อย่าง และก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีที่นักการเมืองนั้นจะได้พยายามแข่งกันสร้างผลงานให้เข้าตาประชาชนมากที่สุด ซึ่งก็เป็นผลที่ดีที่สุดของประเทศ

เมื่อพิจารณาหลักเกณฑ์ต่างๆที่กล่าวมานั้น ก็มาถึงในประเด็นของนายบุญจง วงไตรรัตน์ ซึ่งจากการกระทำนั้นต่างเราพิจารณาอย่างที่ถี่ถ้วนแล้วก็จะสังเกตุได้ว่า กรณีนี้เป็นการแจกเงินช่วยเหลือด้วยงบประมาณแผ่นดินอย่างแน่นอน อาจมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนนิยมชมชอบตนเอง จึงมีการแนบนามบัตรไปกับเงินนั้นด้วย แต่ถึงจะเป็นการให้เพื่อจูงใจให้ประชาชนเลือกตั้งตนเองในครั้งหน้านั้น ก็ไม่ใช่การซื้อเสียงตามมาตรา53 เนื่องจากเป็นเงินงบประมาณแผ่นดินของทางกระทรวงเพื่อทำการช่วยเหลือประชาชนทั่วไป เพราะฉะนั้น การกระทำของนายบุญจงนั้นคงจะถือว่าเป็นการซื้อเสียงคงจะไม่ได้ เพราะไม่ใช่เงินส่วนตัวของนายบุญจงที่เอาไปแจกเพื่อซื้อเสียง แต่อย่างไรก็ตาม หากกรณีปรากฎว่า นายบุญจงนั้นมีเจตนาที่จะให้ชาวบ้านเข้าใจผิดว่าเงินเหล่านั้นเป็นเงินของนายบุญจงเองก็อาจจะถือว่า เป็นการเบียดบังเงินของราชการมาเป็นเงินของตน เพื่อไปแจกชาวบ้านก็อาจมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ หรือ เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามกฎหมายอาญา หรืออาจเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ในการทำหน้าที่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในฐานะ ส.ส. เป็นการกระทำอันเข้าข่ายลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 266 วรรคหนึ่ง โดยเป็นการเข้าไปก้าวก่ายกายงานของข้าราชการประจำเพื่อผลประโยชน์ของตนเองหรือพรรคการเมือง ก็เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณากันต่อไป แต่อย่างไรก็ตามก็การกระทำของนายบุญจง วงไตรรัตน์นั้น ไม่ใช่การซื้อเสียงอย่างแน่นอน

Comments

Popular posts from this blog

ล้อการเมืองของจุฬา หายไปไหน ผมมีเรื่องมาเล่าให้ฟังครับ

TrueMove H ไม่น้อยหน้า Facebook กรณีเคมบริดจ์อนาลิติกา ทำข้อมูลลูกค้ารั่ว 46,000 ราย

ทำไมแท็กซี่จึงปฎิเสธผู้โดยสาร (แล้วจะแก้ปัญหายังไงดีนะ)