คำพิพากษาศาลปกครอง เรื่องให้เพิกถอนการเลือกตั้ง ถูกต้องจริงหรือ?

คริส โปตระนันทน์
นิสิตชั้นปีที่ 4

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ 2
สอนโดย ศ.ดร. ศุภลักษณ์ พินิจภูวดล 
คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552
คำพิพากษาศาลปกครองที่ผู้เขียนจะนำมาวิเคราะห์ ณ ที่นี้ คือ คำพิพากษาศาลปกครองในปี พ.. 2549 ในเรื่องของการเพิกถอนเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน .. 2549 เนื่องจากก่อนหน้าที่ศาลปกครองจะมีคำพิพากษาออกมาในปีนั้น ศาลรัฐธรรมนูณได้ทำการเพิกถอนเลือกตั้งไปแล้วในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.. 2549 ในคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 9/2549 ทำให้คำพิพากษาในคดีนี้ซึ่งออกมาในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.. 2549  ไม่ได้รับการพูดถึงมากนักในสังคม ทั้งๆ ที่คำพิพากษานี้มีความน่าสนใจในเชิงวิชาการเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นการที่ศาลปกครองที่มีหน้าที่หลักในการควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายบริหารเป็นหลักได้ขยายอำนาจของศาลจนครอบคลุมถึงอำนาจขององค์กรอิสระซึ่งก็คือ ก...ด้วย โดยรายละเอียดคำพิพากษามีดังต่อไปนี้  


"ตามที่ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งรับคำฟ้องคดีหมายเลขดำที่ ๖๑๗/๒๕๔๙ ระหว่างนายโพธิพงศ์ บรรลือวงศ์ ผู้ฟ้องคดี คณะกรรมการการเลือกตั้ง และสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ถูกฟ้องคดี และคดีหมายเลขดำที่ ๖๒๐/๒๕๔๙ ระหว่าง นายแพทย์ประมวล วีรุตมเสน กับพวกรวม ๑๐ คน ผู้ฟ้องคดี คณะกรรมการการเลือกตั้ง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง และเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ถูกฟ้องคดี ไว้พิจารณา โดยศาลปกครองกลางได้รวมพิจารณาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกัน และกำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่

ผู้ฟ้องคดีทั้งสองสำนวน ฟ้องว่า ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปเมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๔๙ โดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายและมีลักษณะเป็นการใช้ดุลยพินิจโดยมิชอบ เนื่องจากผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสาม ได้จัดคูหาเลือกตั้ง โดยให้ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งหันหน้าไปทางผนัง หรือฉากกั้นที่เลือกตั้งและหันหลังให้เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้ง อันมีลักษณะที่ทำให้บุคคลอื่นมองเห็น หรือคาดหมายได้ว่าผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งลงคะแนนหมายเลขใด ทำให้การใช้สิทธิเลือกตั้งของผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งไม่เป็นการลับ ซึ่งขัดต่อมาตรา ๑๐๔ วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ให้จัดคูหา โดยให้ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งหันหน้าไปทางผนัง หรือฉากกั้นที่เลือกตั้ง และเพิกถอนการเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรในวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๔๙ นั้น

วันนี้ เวลา ๑๕.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องพิจารณาคดีที่ ๒ ศาลปกครองกลางได้อ่านคำพิพากษาคดีทั้งสองสำนวนดังกล่าว โดยศาลปกครองกลางเห็นว่า คดีมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัย ดังนี้

ประเด็นที่หนึ่ง ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ หรือไม่

ประเด็นที่สอง การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีมติกำหนดให้ดำเนินการปรับแผนผังที่เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๔๙ โดยจัดคูหาเลือกตั้งจากเดิมที่ให้ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งหันหลังให้ผนัง หรือฉากกั้นที่เลือกตั้งมาเป็นให้ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งหันหน้าไปทางผนังหรือฉากกั้นที่เลือกตั้ง และการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ดำเนินการให้เป็นไปตามมติดังกล่าวในทุกหน่วยเลือกตั้ง เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และเป็นเหตุให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๔๙ อันเป็นผลมาจากการกระทำดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่

ประเด็นที่หนึ่ง เห็นว่า มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง () แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง
และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ..๒๕๔๒ บัญญัติให้ ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่ง ในเรื่องที่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่ง หรือกระทำการอื่นใด แม้ในเชิงโครงสร้างผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ (คณะกรรมการการเลือกตั้ง) ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ (สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง) และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ (เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง) จะมิใช่หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชา หรือในกำกับดูแลของรัฐบาล แต่เมื่อพิจารณาลักษณะของการใช้อำนาจของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ถึงที่ ๓ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การใช้อำนาจของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในการควบคุมและดำเนินการจัด หรือจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาและการใช้อำนาจของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ซึ่งเป็นหน่วยงานทางธุรการของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และการใช้อำนาจของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานและลูกจ้างของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ขึ้นตรงต่อประธานกรรมการการเลือกตั้งในเรื่องดังกล่าวแล้ว เห็นได้ว่า มีอยู่สามลักษณะ ได้แก่ การออกกฎ การบังคับใช้กฎหมาย และกฎโดยการออกคำสั่ง มีมติ
หรือกระทำการอื่นใดนอกจากการออกคำสั่งและมีมติ และการสืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหา หรือข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา

ถึงแม้ว่าศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยไว้ในคำวินิจฉัยที่ ๕๒/๒๕๔๖ ว่า การใช้อำนาจหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหา หรือข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาซึ่งเป็นอำนาจตามมาตรา ๑๔๕ () ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยถือเป็นยุติ แต่การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ถึงที่ ๓ ใช้อำนาจออกกฎและบังคับใช้กฎหมายและกฎโดยการออกคำสั่ง มีมติ หรือกระทำการอื่นใดนอกจากการออกคำสั่งและมีมตินั้น หามีลักษณะเป็นการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาไม่ อำนาจออกกฎและบังคับใช้กฎหมายและกฎของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ถึงที่ ๓ นั้น อาจมีแหล่งที่มาจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญโดยตรง เช่น อำนาจออกประกาศกำหนดการทั้งหลายอันจำเป็นแก่การปฏิบัติตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา หรือจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ..๒๕๔๑ เช่น อำนาจออกข้อกำหนดเป็นแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งก็ได้ การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ถึงที่ ๓ ใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ..๒๕๔๑ ออกกฎและบังคับใช้กฎหมายและกฎ ย่อมเป็นการใช้อำนาจทางปกครองทำนองเดียวกันกับการที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี
รัฐมนตรี หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลใช้อำนาจออกกฎและบังคับใช้กฎหมายและกฎในการดำเนินกิจการทางปกครองตามที่กฎหมายต่างๆ กำหนด เมื่อคำนึงถึงลักษณะของการใช้อำนาจแล้ว จึงต้องถือว่าในการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง .. ๒๕๔๑ ออกกฎและบังคับใช้กฎหมายและกฎ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ถึงที่ ๓ เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานทางปกครองตามนัยมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ..๒๕๔๒ และคดีพิพาทเกี่ยวกับการใช้อำนาจดังกล่าวของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ถึงที่ ๓ เป็นคดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง () แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน

เมื่อคดีทั้งสองสำนวนนี้ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบเอ็ดคนต่างก็ฟ้องว่าการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีมติกำหนดให้ดำเนินการปรับแผนผังที่เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๔๙ โดยจัดคูหาเลือกตั้งจากเดิมที่ให้ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งหันหลังให้ผนังหรือฉากกั้นที่เลือกตั้งมาเป็นให้ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งหันหน้าไปทางผนังหรือฉากกั้นที่เลือกตั้งซึ่งมีลักษณะเป็นการออกข้อกำหนดที่เป็นแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งตามมาตรา ๑๐ () แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ..๒๕๔๑ มิใช่เป็นการออกประกาศกำหนดการทั้งหลายอันจำเป็นแก่การปฏิบัติตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาโดยตรงตามมาตรา ๑๔๕() ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ดำเนินการให้เป็นไปตามมติดังกล่าวในทุกหน่วยเลือกตั้งเป็นเหตุให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๔๙ อันเป็นผลมาจากการกระทำดังกล่าวของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ถึงที่ ๓ ขัดต่อมาตรา ๑๐๔ วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งกำหนดว่าการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ใช้วิธีการออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ คดีนี้จึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ใช้อำนาจในการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาซึ่งเป็นอำนาจตามมาตรา ๑๔๕ () ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แต่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ใช้อำนาจทางปกครองออกกฎ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ บังคับใช้กฎโดยมิชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นคดีพิพาทที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง () แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.. ๒๕๔๒ โดยแท้ ดังนั้น คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจของศาลปกครองที่จะพิจารณาพิพากษาได้

ประเด็นที่สอง เห็นว่า การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นการเลือกตั้งอย่างแท้จริงหรือการเลือกตั้งที่มีผลเป็นการแสดงเจตจำนงทางการเมืองของราษฎรส่วนใหญ่ของประเทศอย่างแท้จริง เป็นสาระสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยทางผู้แทน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นการเลือกตั้งอย่างแท้จริงตามนัยดังกล่าว ย่อมหมายถึงการเลือกตั้งที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงลงคะแนนเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยอิสระ ไม่มีการบังคับ ขู่เข็ญ จ้างวาน หรือตกอยู่ภายใต้อิทธิพลใดๆ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม และก็เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า เงื่อนไขประการหนึ่งในหลายๆ ประการที่จะทำให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นไปโดยอิสระ คือ การให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงลงคะแนนลับ ดังที่ ข้อ ๒๑ () ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งประเทศไทยรับรองแล้ว กำหนดไว้มีใจความว่า เจตจำนงของประชากรจะต้องเป็นมูลฐานอำนาจของรัฐบาล เจตจำนงนี้จะต้องแสดงทางการเลือกตั้งตามกำหนดเวลาและอย่างแท้จริง ซึ่งอาศัยการออกเสียงโดยทั่วไป และเสมอภาค และการลงคะแนนเสียงลับหรือวิธีการลงคะแนนเสียงโดยอิสระทำนองเดียวกัน และมาตรา ๑๐๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติว่า การเลือกตั้ง ให้ใช้วิธีการออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ โดยการออกเสียงลงคะแนนลับตามนัยข้อ ๒๑ () ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ และมาตรา ๑๐๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมายถึงการออกเสียงลงคะแนนซึ่งผู้เลือกตั้งรู้สึกว่าไม่มีบุคคลหนึ่งบุคคลใดนอกจากตัวผู้เลือกตั้งเองสามารถเห็นได้ว่าผู้เลือกตั้งออกเสียงลงคะแนนหรือไม่ และออกเสียงลงคะแนนเลือกบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งบัญชีใด หรือผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งคนใด การออกเสียงลงคะแนนที่ผู้เลือกตั้งรู้สึกว่าบุคคลภายนอกสามารถรู้เห็นได้ว่าผู้เลือกตั้งออกเสียงลงคะแนนเลือกบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งบัญชีใด หรือผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งคนใดไม่ใช่การออกเสียงลงคะแนนลับ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสภาวะเช่นนี้ไม่ใช่การเลือกตั้งอย่างแท้จริง เนื่องจากผู้เลือกตั้งขาดอิสระที่จะออกเสียงลงคะแนนตามความรู้สึกผิดชอบของตนและเป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

พิเคราะห์แผนผังที่เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๔๙ ที่จัดคูหาเลือกตั้งโดยให้ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งหันหน้าไปทางผนังหรือฉากกั้นที่เลือกตั้งตามมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ครั้งที่ ๒๘/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๔๙ ประกอบกับภาพถ่ายในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันจันทร์ที่ ๓ เมษายน ๒๕๔๙ ซึ่งเป็นเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๒ ในคดีหมายเลขดำที่ ๖๒๐/๒๕๔๙ และภาพถ่ายจากแผ่นบันทึกภาพและเสียง (VCD) ที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบเอ็ดคนเสนอต่อศาลแล้ว เห็นว่า การให้ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งที่เข้าไปในคูหาเลือกตั้งโดยหันหน้าไปทางผนังหรือฉากกั้นที่เลือกตั้ง ทำให้ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งต้องหันหลังให้เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้ง ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งที่กำลังยืนรอเข้าไปออกเสียงลงคะแนนในคูหาเลือกตั้งและประชาชนที่ยืนอยู่บริเวณหน้าหน่วยเลือกตั้งโดยไม่มีฉากบังสายตาบุคคลดังกล่าวที่มิดชิดเพียงพอ และเมื่อคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่าบัตรเลือกตั้งที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ถึงที่ ๓ ร่วมกันจัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๔๙ มีช่องทำเครื่องหมายว่าไม่ประสงค์จะลงคะแนนอยู่ตรงมุมขวามือด้านล่างของบัตรเลือกตั้ง และมีผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งในแบบบัญชีรายชื่อและแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวนน้อยหมายเลขแล้ว เชื่อได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้ง และผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งที่กำลังยืนรอเข้าไปออกเสียงลงคะแนนในคูหาเลือกตั้ง ตลอดจนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งที่ได้ออกเสียงลงคะแนนแล้ว และยืนอยู่บริเวณนอกหน่วยเลือกตั้งสามารถสังเกตเห็นพฤติกรรมของผู้ที่กำลังออกเสียงลงคะแนนอยู่ในคูหาเลือกตั้งและทราบหรือคาดเดาได้โดยง่ายว่าผู้นั้นได้ทำเครื่องหมายกากบาทลงในช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนนหรือออกเสียงลงคะแนนเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งบัญชีใดและผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งคนใด ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ถึงที่ ๓ ก็ยอมรับว่าเป็นเช่นนี้ ดังจะเห็นได้จากการที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามได้ระบุเหตุผลที่ให้จัดคูหาลงคะแนนโดยให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งหันหน้าไปทางผนังกั้นที่เลือกตั้งและหันหลังให้เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งไว้ว่า เพื่อเป็นการป้องกันการทุจริตในการลงคะแนนเลือกตั้งกรณีที่มีข้อครหาว่ามีการแอบนำบัตรเลือกตั้งออกไปจากคูหาเพื่อใช้เวียนเทียนในการลงคะแนน และมีการลักลอบใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ถ่ายรูปบัตรเลือกตั้งเพื่อนำไปรับเงิน เนื่องจากกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งสามารถสังเกตพฤติกรรมของผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งขณะที่ใช้สิทธิลงคะแนนได้

นอกจากนั้น เมื่อพิจารณาผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนและสื่อมวลชนของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ตามคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ก็ปรากฏว่า ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๔๙ ส่วนมากต่างก็รู้สึกว่าการออกเสียงลงคะแนนของตนไม่เป็นความลับเพียงพอที่จะทำให้สามารถออกเสียงลงคะแนนได้อย่างอิสระตามความรู้สึกผิดชอบของตน

ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีมติกำหนดให้ดำเนินการปรับแผนผังที่เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๔๙ โดยจัดคูหาเลือกตั้งจากเดิมที่ให้ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งหันหลังให้ผนังหรือฉากกั้นที่เลือกตั้งมาเป็นให้ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งหันหน้าไปทางผนังหรือฉากกั้นที่เลือกตั้ง และการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ดำเนินการให้เป็นไปตามมติดังกล่าวในทุกหน่วยเลือกตั้ง จึงเป็นการกระทำที่ทำให้การออกเสียงลงคะแนนไม่เป็นไปโดยลับทั้งในทางข้อเท็จจริงและในความรู้สึกของผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง อันเป็นการไม่ชอบด้วยมาตรา ๑๐๔ วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเป็นเหตุให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๔๙ ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วย

ถึงแม้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ โดยการสนับสนุนและช่วยเหลือของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ มีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาที่จะต้องควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ถึงที่ ๓ หาอาจป้องกันและปราบปรามการทุจริตในการเลือกตั้งด้วยวิธีการที่ละเมิดหลักการออกเสียงลงคะแนนลับ อันเป็นสาระสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยผู้แทนได้ไม่

จึงพิพากษาให้เพิกถอนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๔๙ ทั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และแบบบัญชีรายชื่อทั้งหมดในทุกเขตเลือกตั้ง และการกระทำต่อมาภายหลังอันเป็นผลสืบเนื่องจากการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๔๙ ส่วนที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสิบเอ็ดคนขอให้เพิกถอนมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เกี่ยวกับการจัดคูหาเลือกตั้งแบบที่ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งหันหน้าไปทางผนังหรือฉากกั้นที่เลือกตั้งนั้น โดยที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ ๔๐/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๔๙ ให้เปลี่ยนการจัดคูหาเลือกตั้งเป็นแบบผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งหันหลังให้ผนังหรือฉากกั้นแล้ว จึงไม่ต้องพิพากษาเพิกถอนมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ดังกล่าวอีก "

Comments

Popular posts from this blog

ล้อการเมืองของจุฬา หายไปไหน ผมมีเรื่องมาเล่าให้ฟังครับ

TrueMove H ไม่น้อยหน้า Facebook กรณีเคมบริดจ์อนาลิติกา ทำข้อมูลลูกค้ารั่ว 46,000 ราย

ทำไมแท็กซี่จึงปฎิเสธผู้โดยสาร (แล้วจะแก้ปัญหายังไงดีนะ)