Self Dealing กับ การจ้างญาติมิตรของสนช.

ภาพนี้บ่งบอกอะไรได้มาก















(ภาพจากFacebookของคุณ @Pipob Udomittipong)



ตามที่ สำนักข่าวอิศราได้รายงานไปเมื่อวันก่อน ตามข่าวนี้

เปิดชื่อ! สนช.กว่าครึ่งร้อยตั้ง“เมีย-ลูก-ญาติ”ช่วยงาน-เงินเดือน 1.5-2 หมื่น




จริงๆการเรียกญาติมิตร ไปช่วยงานไม่ได้มีกฎหมายห้ามเอาไว้ตรงๆดังที่ที่หลายฝ่ายอ้าง





เนื่องจาก อาจเป็นไปได้ก็ได้ ว่า ญาติคนนั้นอาจเก่งจริง หรือ ทำงานเข้าขากันกว่า

แต่ ประเด็นที่หลายฝ่าย เป็นห่วงเนื่องจาก อาจเป็นไปได้ว่า ตำแหน่งผู้ช่วยเหล่านี้อาจเป็นตำแหน่งลอยๆ (ไม่มีงาน รับเงินเดือนอย่างเดียว) โดยจุดประสงค์เพื่อจะเอาเงินเข้ากระเป๋าตัวเอง หรือญาติของตนเอง เป็นจำนวนเดือนละหลายหมื่นบาท

และการตั้งผู้ช่วยเหล่านี้เป็นดุลพินิจการคัดเลือกของสนช.คนนั้นๆ ไม่ได้มีการกลั่นกรองจากคณะกรรมการแต่อย่างใด แต่ทั้งนี้ เงินเดือนที่จ่ายให้ตำแหน่งเหล่านี้ กลับเป็นเงินหลวง

ซึ่ง ถ้าเป็นเรื่องของบริษัท เรื่องนี้อาจจะเข้าข่าย Self Dealing ในหลักกฎหมายบริษัท
ความหมายง่ายๆ ก็ประมาณว่า ถ้ากรรมการบริษัทมี transaction หรือ action บางประการ ในนามบริษัท กับ ตัวเอง (หรือบริษัทอื่นที่ตัวเองอาจมีส่วนได้เสีย) ซึ่งactionนั้นมีประโยชน์กับตัวกรรมการเองมากกว่า ประโยชน์ของบริษัท ซึ่งถ้ากรรมการคนไหนมีพฤติกรรมแบบนี้ อาจจะถือได้ว่า ตัวเองผิดหน้าที่ที่จะซื่อตรงต่อบริษัท (Duty of Loyalty) ซึ่งผู้ถือหุ้น อาจฟ้องกรรมการคนนั้นในความเสียหายได้

เช่น บริษัทAให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำกับบริษัทB  โดยมีกรรมการ C เป็นกรรมการทั้งสองบริษัท ซึ่งจะเห็นได้ในกรณีนี้ บริษัท รวมไปถึงผู้ถือหุ้นของบริษัท A นั้นเสียหายจากกระทำของกรรมการ C  กล่าวคือ บริษัทAนั้นขาดประโยชน์จากการที่จะนำเงินก้อนดังกล่าวไปทำประโยชน์อย่างอื่นซึ่งต่างประเทศ เค้าถือกันมากว่า การกระทำพวกนี้ถือว่าเป็นการโกงบริษัทเลยทีเดียว

ในกรณี ในเมืองไทยมีบทลงโทษใน พรบ. หลักทรัพย์
กรรรมการไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และ กรรมการไม่รายงานส่วนได้เสีย

มาตรา ๒๘๑/๒ ๔ กรรมการ หรือผู้บริหารบริษัทผู้ใด ไม่ปฏิบัติ หน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ความระมัดระวัง และความซื่อสัตย์สุจริต ตาม มาตรา ๘๙/๗ จนเป็นเหตุให้บริษัทได้รับความเสียหาย หรือทําให้ตนเอง หรือผู้อื่น ได้รับประโยชน์จากการฝ่าฝื น หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินจำนวนค่าเสียหายที่เกิดข้ึน หรือประโยชน์ที่ได้รับ แต่ทั้งน้ีค่าปรับดังกล่าว ต้องไม่ต่ำกว่าห้าแสนบาท

ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดตามวรรคหนึ่ง ได้กระทําโดยทุจริต ตอ้งระวางโทษจำคุกไม่เกินหา้ปีหรือปรับไม่เกินสองเท่าของค่าเสียหายที่เกิดข้ึน หรือประโยชน์ที่ไดร้ับ แต่ท้งัน้ีค่าปรับดงักล่าว ตอ้งไม่ต่าํกวา่ หน่ึงลา้นบาท หรือท้งัจาํท้งัปรับ



มาตรา ๒๘๑/๓ ๔ กรรมการ หรือผู้บริหารบริษัทผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม มาตรา ๘๙/๑๔ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละ สามพันบาท ตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง




ซึ่งเรื่องนี้ ถ้าจะปรับกับ สภา สนช ของไทย ตอนนี้จริงๆ ก็ไม่ได้ห่างไกล เกินไปนัก 

ถ้าคิดว่า มี บริษัทนึงชื่อประเทศไทย สนช.เข้ามาทำหน้าที่เพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทนี้ โดยมีผู้ถือหุ้น คือ ประชาชนคนไทยทั้งประเทศ 

จะดูว่า ท่านสนช ทั้งหลายมีการทำ Self Dealing (จ้างคนที่ตัวเองมีส่วนได้เสีย) หรือไม่ ก็ต้องพิจารณาว่า การกระทำของสนช.ทำให้ประเทศไทย รวมถึงคนไทยทุกคนเสียหายหรือไม่

ก็คงต้องพิจารณาด้วยเกณฑ์คล้ายๆกัน

1. สนช. มีส่วนได้เสียกับญาติตัวเองแค่ไหน (ญาติสนิทหรือไม่ มีการโอนเงินกลับเข้าบัญชีตัวเองหรือไม่ การตั้งญาติ ต่างกับ การตั้งเพื่อนหรือคนสนิทอย่างไร)
2. ตำแหน่งเหล่านี้ มีงานหรือไม่ มีความจำเป็นกับการทำงานของสนช.จริงหรือไม่
3. ผู้ช่วยเหล่านั้น มีความสามารถ ในการทำงานในตำแหน่งนั้นๆได้หรือไม่
(ตรวจสอบแบบแย่ที่สุดก็ เช็กชื่อเวลาเข้างาน ถ้าจะเอาจริงๆหน่อย ก็อาจต้องประเมินผลงานทำงานรายเดือน ก็ต้องว่ากันไป)
4. การตั้งผู้ช่วยในครั้งนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์กับการบริหารราชการแผ่นดิน (ประโยชน์กับประเทศ) โดยรวม หรือ ประโยชน์ส่วนตน กันแน่

ถึงแม้ ในตอนนี้ ระบอบการปกครองจะไม่ใช่ประชาธิปไตย แต่ผมเชื่อว่า สิทธิในการเป็นเจ้าของประเทศของพวกเรา ยังคงมีอยู่เท่าเดิม 

เราไม่ควรจะยอมให้ใครก็ตามเข้ามาปู้ยี่ปู้ยำผลประโยชน์ของประเทศของเรา งบประมาณของประเทศที่พวกเข้าใช้กันอยู่ในตอนนี้ มันคือเงินภาษีของพวกเราทุกคน

ในทางกฎหมาย เรามากันไกลแล้ว กับ การขัดกันทางผลประโยชน์ (Conflict of interest) ที่ปรากฎอยุ่ใน
เหตุผลแปร่งๆของคำตัดสินในคดีที่ดินรัชดาของทักษิณ ชินวัตร และคดีทำกับข้าวของสมัคร สุนทรเวช

มีใครสนใจจะเอาเรื่องนี้ ไปฟ้องศาลรัฐธรรมนูญมั้ยครับ

Comments

Popular posts from this blog

ล้อการเมืองของจุฬา หายไปไหน ผมมีเรื่องมาเล่าให้ฟังครับ

ผ่านไปแล้วครึ่งปี บทเรียนของสังคมไทยจากกรณีน้องแก้ม (ลืมไปรึยังนะ)

ทำไมแท็กซี่จึงปฎิเสธผู้โดยสาร (แล้วจะแก้ปัญหายังไงดีนะ)