ทำไมเราจึงควรปล่อยให้เกษตรกรบางส่วนเลิกทำนา? (อาจจะดูโหดร้าย ลองกดเข้ามาอ่านกันก่อนนะ)
จากข่าวนี้
ลิ้งข่าว http://www.dailynews.co.th/Content/politics/268243/ปีติพงศ์ผุดไอเดียจ้างให้เลิกทำเกษตร
ปัญหาเรื่อง ความยากจนกับเกษตรกรไทย
เป็นปัญหาที่ดูเหมือนจะไม่มีรัฐบาลไหนที่สามารถแก้มันได้
คือ ประเด็นอยู่ที่ว่า เมื่อเรามองปัญหาผิด ยิ่งแก้ ยิ่งยุ่งครับ
ปัญหาที่ควรจะมองคือ
"เราจะทำให้เกษตรกรไทยรวย(พ้นจากความยากจน)เหมือนในประเทศที่พัฒนาแล้วได้อย่างไร"
แต่ สิ่งที่ปัญหาที่รัฐบาลทุกรัฐบาลตั้งต้นคือ
"ยางราคาตก ทำยังไงดี"
"ไข่ล้นตลาด ทำยังไงดี"
"หมูราคาแพง ทำยังไงดี"
"ปาล์มล้นตลาด ทำยังไงดี"
"ข้าว ราคาต่ำ ทำยังไงดี (ประกันราคา หรือ จำนำดี)"
(สังเกตได้นะครับ ว่า ความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่า ราคาจะสูง หรือ ต่ำ รัฐบาลจะโดนด่า อยู่ดี เพราะ ว่า ถ้าของราคาถูกเนี่ย หนังสือพิมพ์จะพาดหัว ว่า ราคาตก อันนี้ เกษตรกรด่ารัฐบาล ถ้าของราคาแพงเนี่ย จะพาดหัวว่า ของแพง ของขาดตลาด อันนี้ ประชาชนผู้บริโภตด่ารัฐบาล)
คือ เรื่องพวกนี้ ถ้ารัฐบาลเข้าไปยุ่ง ยิ่งยุ่งยิ่งมั่วครับ
เพราะ ราคาของผลผลิตการเกษตร(Commodity)พวกนี้ มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับ รัฐบาล
มันขึ้นอยู่กับตลาดครับ (แล้วยิ่งยุคนี้ด้วย มีการค้าระหว่างประเทศ ราคาขึ้นอยู่กับตลาดโลกครับ)
คำว่า ราคาขึ้นอยู่กับตลาด คืออะไร
ราคาของสินค้าพวกนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณความต้องการซื้อ(ดีแมนด์) และปริมาณความต้องการขาย(ซับพลายด์) ของสินค้าชนิดนั้นๆ
เพราะฉะนั้น จะบอกว่า รัฐไทยจะทำให้ราคาข้าวสูงในปีนี้ ปีหน้า มันเป็นไปไม่ได้ครับ (ุถ้าทำได้ก็ทำได้แค่ระยะเวลาสั้นๆ สุดท้ายก็จะเจ๊ง)
ตัวอย่างของการเข้าไปยุ่งกับตลาด ยิ่งยุ่งยิ่งมั่วคือ
1. การช่างกิโลไข่ เพื่อ แก้ปัญหา ราคาไข่แพง ของ อภิสิทธิ์ (ไม่ว่าหน่วยการขายจะเป็นอะไร ยังไงของแพงมันก็แพงอยู่ดี)
2.การประกันราคาหรือจำนำข้าวด้วยภาษีของประชาชน เพื่อเอาไปช่วยชาวนา (เสียเงินยับทั้งคู่)
3. การควบคุมราคาขายน้ำมันปาล์มของรัฐบาลอภิสิทธิ์เพื่อแก้ไขน้ำมันปาล์มแพง (พอไปควบคุมราคา เอกชนเลยไม่รู้จะไปผลิตไปทำไม)
หรือ เช่นข่าวนี้ เช่น ไปจ้างให้เค้าเลิกทำนา (ซึ่งเป็นการบิดเบือนตลาดแบบนึง ปริมาณข้าวจะได้น้อยลง ข้าวจะได้ราคาแพงขึ้น)
ผลของpolicyนี้ (ถ้าทำได้จริง)
1. คนปลูกข้าวลดลง
2. ราคาข้าวแพงขึ้น (เกษตรกรบางส่วนที่ไม่ได้ถูกเลิกจ้างจะแฮปปี้กว่าเดิม)
3. แต่สุดท้าย ผู้บริโภคจะด่ารัฐบาลอีก
4. อาจต้องใช้เงินภาษีอีกจำนวนมาก เพื่อจ่ายให้เค้าเลิกทำนา
แล้วถาม ว่า แล้วจะให้รัฐบาลทำยังไง ให้เอาใจใครกันแน่
ความจริงวิธีการแก้ปัญหาที่ง่ายที่สุดคือ รัฐบาลไม่ต้องทำอะไรเลยครับ เลิกแทรกแซง
ถ้ารัฐไปยุ่งกับตลาดโดยคิดว่า จะคุมdemand supplyได้ ยังไงก็เจ๊งชัว (สมัครเคยแนะให้ประชาชนกินไก่แทนหมูมาแล้ว โดนด่าเปิง ผมไม่แน่ใจว่า ท่านอยากจะเพิ่มดีแมนด์ได้ ลดดีแมนด์หมู หรือว่า แค่พูด ทำให้ดูเหมือนว่า รัฐบาลทำอะไรบ้าง)
แค่ปล่อยไปเรื่อยๆ เกษตรกรที่ไม่มีประสิทธิภาพ (เช่น ทำเท่าไรก็เจ๊ง หนี้เพียบ)
จะเลิกทำเกษตรไปเอง มันจะเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานจากภาคเกษตร จะย้ายไปทำงานในภาคอุตสาหกรรมอื่นแทน (ซึ่งคนที่ต้องเลิกทำนา บางครั้งอาจโหดร้าย ดูเหมือนเรากำลังทำให้ชาวนาต้องเลิกประกอบอาชีพที่เป็นกระดูกสันหลังของชาติ
ลองอ่านที่คุณ @ขยะความคิด เขียนวันที่ 22 กันยายน 2557 ดูครับ https://www.facebook.com/KhyaKhwamKhid)
แล้วเกษตรกรมที่เก่งกว่า ทำผลผลิตได้มากกว่า รับความเสี่ยงได้มากกว่า ก็จะเข้าไปซื้อที่ดิน เช่าที่ดิน ของคนที่ทำไม่สำเร็จ เอาที่ดินพวกนั้นมาทำแทน
เมื่อกลไกเป็นแบบนี้ จำนวนเกษตรกรจะลดลงไปเองตามทำธรรมชาติ
(ปี 2555 จำนวนชาวนา มี 7.7 ล้านคน ตามรายงานของTDRI ขณะที่ที่นาปีบ้านเรามีประมาณ 60 ล้านไร่ เฉลี่ย ชาวนามีคนละ 7.8 ไร่เท่านั้นเอง http://thaipublica.org/wp-content/uploads/2012/10/Rice_Pledging.pdf
http://www.thairice.org/doc_dl/032013/ppt-b.pdf)
ซึ่งสมมติว่า จำนวนชาวนา ลดลงครึ่งหนึ่งนั่นหมายถึง ชาวนา คนนึง จะมีที่ดินทำกิน เฉลี่ย 15 ไร่ และ นั่นก็หมายถึงรายได้ที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าด้วยครับ
โดยสรุป
แค่เลิกอุดหนุนราคา เลิกแทรงแซงตลาด ปล่อยให้ตลาดทำงานของมันไป แล้วจะดีเองครับ
ชาวนาที่ทำนาได้ไม่ดี ไม่เก่งก็เลิกไปทำอาชีพอื่น ชาวนาที่มีประสิทธิภาพจะได้เงินมากขึ้น ผู้บริโภคก็ได้กินข้าวราคาเท่าเดิม ไม่เปลืองภาษีประชาชนด้วยครับ
ปล. ถ้าเห็นด้วย ขอแชร์ด้วยนะครับ
ลิ้งข่าว http://www.dailynews.co.th/Content/politics/268243/ปีติพงศ์ผุดไอเดียจ้างให้เลิกทำเกษตร
ปัญหาเรื่อง ความยากจนกับเกษตรกรไทย
เป็นปัญหาที่ดูเหมือนจะไม่มีรัฐบาลไหนที่สามารถแก้มันได้
คือ ประเด็นอยู่ที่ว่า เมื่อเรามองปัญหาผิด ยิ่งแก้ ยิ่งยุ่งครับ
ปัญหาที่ควรจะมองคือ
"เราจะทำให้เกษตรกรไทยรวย(พ้นจากความยากจน)เหมือนในประเทศที่พัฒนาแล้วได้อย่างไร"
แต่ สิ่งที่ปัญหาที่รัฐบาลทุกรัฐบาลตั้งต้นคือ
"ยางราคาตก ทำยังไงดี"
"ไข่ล้นตลาด ทำยังไงดี"
"หมูราคาแพง ทำยังไงดี"
"ปาล์มล้นตลาด ทำยังไงดี"
"ข้าว ราคาต่ำ ทำยังไงดี (ประกันราคา หรือ จำนำดี)"
(สังเกตได้นะครับ ว่า ความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่า ราคาจะสูง หรือ ต่ำ รัฐบาลจะโดนด่า อยู่ดี เพราะ ว่า ถ้าของราคาถูกเนี่ย หนังสือพิมพ์จะพาดหัว ว่า ราคาตก อันนี้ เกษตรกรด่ารัฐบาล ถ้าของราคาแพงเนี่ย จะพาดหัวว่า ของแพง ของขาดตลาด อันนี้ ประชาชนผู้บริโภตด่ารัฐบาล)
คือ เรื่องพวกนี้ ถ้ารัฐบาลเข้าไปยุ่ง ยิ่งยุ่งยิ่งมั่วครับ
เพราะ ราคาของผลผลิตการเกษตร(Commodity)พวกนี้ มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับ รัฐบาล
มันขึ้นอยู่กับตลาดครับ (แล้วยิ่งยุคนี้ด้วย มีการค้าระหว่างประเทศ ราคาขึ้นอยู่กับตลาดโลกครับ)
คำว่า ราคาขึ้นอยู่กับตลาด คืออะไร
ราคาของสินค้าพวกนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณความต้องการซื้อ(ดีแมนด์) และปริมาณความต้องการขาย(ซับพลายด์) ของสินค้าชนิดนั้นๆ
เพราะฉะนั้น จะบอกว่า รัฐไทยจะทำให้ราคาข้าวสูงในปีนี้ ปีหน้า มันเป็นไปไม่ได้ครับ (ุถ้าทำได้ก็ทำได้แค่ระยะเวลาสั้นๆ สุดท้ายก็จะเจ๊ง)
ตัวอย่างของการเข้าไปยุ่งกับตลาด ยิ่งยุ่งยิ่งมั่วคือ
1. การช่างกิโลไข่ เพื่อ แก้ปัญหา ราคาไข่แพง ของ อภิสิทธิ์ (ไม่ว่าหน่วยการขายจะเป็นอะไร ยังไงของแพงมันก็แพงอยู่ดี)
2.การประกันราคาหรือจำนำข้าวด้วยภาษีของประชาชน เพื่อเอาไปช่วยชาวนา (เสียเงินยับทั้งคู่)
3. การควบคุมราคาขายน้ำมันปาล์มของรัฐบาลอภิสิทธิ์เพื่อแก้ไขน้ำมันปาล์มแพง (พอไปควบคุมราคา เอกชนเลยไม่รู้จะไปผลิตไปทำไม)
หรือ เช่นข่าวนี้ เช่น ไปจ้างให้เค้าเลิกทำนา (ซึ่งเป็นการบิดเบือนตลาดแบบนึง ปริมาณข้าวจะได้น้อยลง ข้าวจะได้ราคาแพงขึ้น)
ผลของpolicyนี้ (ถ้าทำได้จริง)
1. คนปลูกข้าวลดลง
2. ราคาข้าวแพงขึ้น (เกษตรกรบางส่วนที่ไม่ได้ถูกเลิกจ้างจะแฮปปี้กว่าเดิม)
3. แต่สุดท้าย ผู้บริโภคจะด่ารัฐบาลอีก
4. อาจต้องใช้เงินภาษีอีกจำนวนมาก เพื่อจ่ายให้เค้าเลิกทำนา
แล้วถาม ว่า แล้วจะให้รัฐบาลทำยังไง ให้เอาใจใครกันแน่
ความจริงวิธีการแก้ปัญหาที่ง่ายที่สุดคือ รัฐบาลไม่ต้องทำอะไรเลยครับ เลิกแทรกแซง
ถ้ารัฐไปยุ่งกับตลาดโดยคิดว่า จะคุมdemand supplyได้ ยังไงก็เจ๊งชัว (สมัครเคยแนะให้ประชาชนกินไก่แทนหมูมาแล้ว โดนด่าเปิง ผมไม่แน่ใจว่า ท่านอยากจะเพิ่มดีแมนด์ได้ ลดดีแมนด์หมู หรือว่า แค่พูด ทำให้ดูเหมือนว่า รัฐบาลทำอะไรบ้าง)
แค่ปล่อยไปเรื่อยๆ เกษตรกรที่ไม่มีประสิทธิภาพ (เช่น ทำเท่าไรก็เจ๊ง หนี้เพียบ)
จะเลิกทำเกษตรไปเอง มันจะเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานจากภาคเกษตร จะย้ายไปทำงานในภาคอุตสาหกรรมอื่นแทน (ซึ่งคนที่ต้องเลิกทำนา บางครั้งอาจโหดร้าย ดูเหมือนเรากำลังทำให้ชาวนาต้องเลิกประกอบอาชีพที่เป็นกระดูกสันหลังของชาติ
ลองอ่านที่คุณ @ขยะความคิด เขียนวันที่ 22 กันยายน 2557 ดูครับ https://www.facebook.com/KhyaKhwamKhid)
แล้วเกษตรกรมที่เก่งกว่า ทำผลผลิตได้มากกว่า รับความเสี่ยงได้มากกว่า ก็จะเข้าไปซื้อที่ดิน เช่าที่ดิน ของคนที่ทำไม่สำเร็จ เอาที่ดินพวกนั้นมาทำแทน
เมื่อกลไกเป็นแบบนี้ จำนวนเกษตรกรจะลดลงไปเองตามทำธรรมชาติ
(ปี 2555 จำนวนชาวนา มี 7.7 ล้านคน ตามรายงานของTDRI ขณะที่ที่นาปีบ้านเรามีประมาณ 60 ล้านไร่ เฉลี่ย ชาวนามีคนละ 7.8 ไร่เท่านั้นเอง http://thaipublica.org/wp-content/uploads/2012/10/Rice_Pledging.pdf
http://www.thairice.org/doc_dl/032013/ppt-b.pdf)
ซึ่งสมมติว่า จำนวนชาวนา ลดลงครึ่งหนึ่งนั่นหมายถึง ชาวนา คนนึง จะมีที่ดินทำกิน เฉลี่ย 15 ไร่ และ นั่นก็หมายถึงรายได้ที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าด้วยครับ
โดยสรุป
แค่เลิกอุดหนุนราคา เลิกแทรงแซงตลาด ปล่อยให้ตลาดทำงานของมันไป แล้วจะดีเองครับ
ชาวนาที่ทำนาได้ไม่ดี ไม่เก่งก็เลิกไปทำอาชีพอื่น ชาวนาที่มีประสิทธิภาพจะได้เงินมากขึ้น ผู้บริโภคก็ได้กินข้าวราคาเท่าเดิม ไม่เปลืองภาษีประชาชนด้วยครับ
ปล. ถ้าเห็นด้วย ขอแชร์ด้วยนะครับ
แล้วมั่นใจได้ไงครับว่า จากเดิมชาวนามีที่ 7.8 ไร่โดยเฉลี่ย มันจะเพิ่มมาเป็น 15 ไร่ ในเมื่อที่ดินมันคงไม่ได้ถูกชาวนาด้วยกันซื้อหรอกครับ
ReplyDeleteแต่อย่างไรก็ดี ผมสนับสนุนนโยบายใหม่ การทำนาแบบใหม่ๆ ถ้าคนทำไม่ได้ก็ส่งเสริมให้ใช่ที่ดินทำประโยชน์อื่น ทำสวนทำไร่ หรืออะไรก็ว่าไป แต่รัฐต้องสนับสนุนทั้งความรู้การพัฒนาของชาวนา ให้เป็นชาวนายุคใหม่ และสนับสนุนอาชีพให้กับชาวนาที่ต้องการเลิกเป็นชาวนาครับ
ที่เพิ่มเป็น 15 ไร่ มันก็เป็นจำนวนเฉลี่ยอยู่ดีครับ เมจเสจของผมคือ เมื่อชาวนาน้อยลง จำนวนไร่เฉลี่ยต่อคนก็สูงขึ้น
ReplyDeleteส่วนเราจะรู้ได้ไงว่า คนที่มาซื้อที่นาเป็นชาวนา คำตอบคือเราไม่รู้ครับ แต่เรารู้แน่นอนว่า
1. ถ้าคนที่ซื้อเป็นชาวนา เค้าก็เป็นคนที่จะขยายกำลังการผลิต
2. ถ้าคนที่ซื้อที่ไม่ใช่ชาวนา แต่ซื้อเพื่อทำนา เค้าก็เป็นคนที่พร้อมที่จะเริ่มทำนา และเป็นคนที่เก่งกว่าชาวนาคนเดิมที่ขายไป (เพราะส่วนตัวคนที่ขาย เค้าขายเพราะว่า เค้าทำนาได้ไม่คุ้มกับราคาของนา ณ ตอนนั้นครับ)
3. ส่วนคนที่ซื้อที่ไม่ใช่ชาวนา และไม่ได้ทำนาด้วย ก็ไม่เป็นไรครับ เพราะว่า เค้าอาจจะเอาไปลงทุนอะไรต่างๆ ที่ได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากกว่าการที่ที่จะเป็นนาครับ
ส่วนย่อหน้าที่สอง เราเห็นด้วยทุกประการเลยครับ