0130: สองสูง
คือเห็นข้อเขียนนี้จากเวป http://board.thaivi.org//viewtopic.php?p=389191 นี้อ่ะครับ เห็นว่าน่าสนใจมาก
จุดที่ยังไม่เคลียร์ของบทความคือที่บอกว่ากดค่าแรงให้ต่ำ ประเทศไทยกดค่าแรงอย่างไร
ซึ่งบทความนี้ไม่ได้บอกไว้ แต่ที่ผมจะขอชี้เพิ่มเติมคือการที่ประเทศไทยกดค่าแรงให้ต่ำ และกดของให้ราคาต่ำไว้ด้วย "นโยบายค่าเงินบาทอ่อนครับ" เมื่อสินค้าส่งออกของเรามีราคาถูกอยู่ตลอด จึงเท่ากับว่าไอ้เงินที่ได้มาก็น้อยกว่าที่ควรจะได้อยู่ตลอด หรืออีกนัยหนึ่งก็คือเราเอาความเป็นอยู่ของคนมาแลกกับการที่จะขายของถูกๆ ขายได้มากๆ (ของผู้ส่งออก) อยู่ตลอดเวลารึเปล่าเอ่ย
ลองคิดดูว่าเงินทุกดอลลาร์ที่เข้ามาในประเทศ มันทำให้เงินบาทแข็งขึ้น ซึ่งจะทำให้อำนาจซื้อของคนไทยเพิ่มขึ้นทุกครั้งที่บาทแข็งขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ เมื่อค่าเงินบาทแข็งขึ้นก็ทำให้ค่าแรงขึ้นอยู่ตลอด ลองคิดดูว่า ไม่ต้องอะไรมาก ค่าแรงขั้นต่ำ200บาท ที่ 40 บาท ต่อดอลลาร์ ย่อมจนกว่า ค่าแรงขั้นต่ำที่ 200บาท ต่อ 20 บาท ต่อดอลลาร์อย่างเห็นๆ
เค้าเขียนมาแบบนี้ครับ ผมยังไม่ทราบว่าพี่สุมาอี้คิดเอง หรือเอามาจาเจ้าสัวซีพีพูดไว้ก่อนครับ
พี่สุมาอี้ wrote:
พี่สุมาอี้ wrote:
0130: สองสูง
ปกติ แล้ว การเพิ่มเงินเดือนให้เมื่อเกิดภาวะข้าวยากหมากแพงจะไม่ช่วยแก้ปัญหา เพราะเงินมีมากขึ้นแต่ของมีเท่าเดิม ของจะยิ่งแพงขึ้นไปอีก สุดท้ายแล้ว กำลังซื้อจะยังคงเท่าเดิมอยู่ แต่ได้ภาวะเงินเฟ้อพ่วงมาด้วย ถ้ามองในมุมนี้ ดูเหมือนทฤษฏีสองสูงของเจ้าสัวธนินท์จะไม่ใช่ทางออกของปัญหาข้าวยากหมากแพง
แต่ผมเห็นด้วยกับแนวคิดนี้ เนื่องจากที่ผ่านมา ราคาสินค้าและค่าแรงของบ้านเราไม่ได้กำหนดด้วยกลไกตลาดแต่ถูกกดเอาไว้ให้ต่ำ กว่าความเป็นจริงมาตลอดเพราะเป็นนโยบาย ถึงเวลาแล้วที่เราจะปล่อยให้ทั้งราคาสินค้าและรายได้ของคน “ลอยตัว” ขึ้นตามความเป็นจริง ไม่ใช่กดเอาไว้เหมือนในอดีต การขึ้นเงินเดือนตามทฤษฏีสองสูงไม่ได้หมายถึงการแจกเงิน แต่หมายถึงการปล่อยให้เงินเดือนลอยตัวขึ้นตามความเป็นจริง
ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศของเราเริ่มทำเกษตรกันน้อยลงและหันมาเป็นผู้รับจ้างผลิต (OEMers) ในเวทีโลกมากขึ้น สินค้าที่ไทยส่งออกได้มากที่สุดทุกวันนี้คือ รับจ้างต่างประเทศผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ เรายังเป็นฐานการผลิตรถยนต์ส่งออกเป็นจำนวนมากอีกด้วย เราไม่ใช่ประเทศที่ทำเกษตรเป็นหลักเหมือนที่สอนไว้ในหนังสือสังคม สินค้าเกษตรในปัจจุบันมีสัดส่วนแค่เพียง 10% ของรายได้ประชาชาติเท่านั้นเอง
การจะเป็น OEMers ในเวทีโลกได้นั้น ค่าแรงจะต้องถูก ที่ผ่านมารัฐบาลจึงมีนโยบายกดค่าแรงมาโดย ตลอด เพื่อให้นักลงทุนต่างชาติเลือกที่จะมาผลิตสินค้าในประเทศไทยเพราะค่าแรง ต่ำ นอกจากนี้ เรายังใช้วิธีกดค่าเงินของเราให้ต่ำเกินความเป็นจริงอีกด้วย เพื่อให้สินค้าที่ผลิตออกจากประเทศไทยมีราคาต่ำเมื่อคิดเป็นเงินดอลล่า ร์ ต่างชาติจะได้อยากซื้อสินค้าที่มีฐานการผลิตในประเทศไทย
นโยบายแบบนี้ที่ผ่านมาไปได้สวย เพราะแม้ว่าเงินเดือนจะน้อย แต่ของก็มีราคาถูก คนในประเทศจึงไม่เดือดร้อนอะไร ในขณะเดียวกัน การจ้างงานก็มีมากเพราะต่างชาติมาลงทุนกันมากเพื่อเอาค่าแรงถูก ดูๆ ไปก็เป็นนโยบายที่ลงตัว แต่พอนานๆ เข้า ราคาสินค้าในประเทศอื่นๆ ในโลกซึ่งเขาไม่ได้ใช้นโยบายกดราคากันก็สูงขึ้นเรื่อยๆ จนเริ่มทิ้งห่างราคาสินค้าในบ้านเราไปอย่างมีนัยสำคัญ บังเอิญว่าเราต้อง ซึ้อสินค้าหลายอย่างจากต่างประเทศเสียด้วย ทั้งน้ำมัน แร่เหล็ก รวมไปถึงสินค้าฟุ่มเฟือยต่างๆ ระดับราคาสินค้าและรายได้ในประเทศที่ต่ำกว่า ตลาดโลกมาก ทำให้คนไทยต้องซื้อสินค้าเหล่านั้นในราคาที่แพงมาก ในขณะเดียวกัน เรายังขายสินค้าของเราในราคาถูกๆ ให้กับโลกเหมือนเดิม
ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องเลิกกลยุทธ์กดราคา ขืนยังปล่อยให้ระดับรายได้และระดับราคาของไทยต่ำกว่าประเทศอื่นๆ เช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ คนไทยจะตายอย่างเขียดในที่สุด….
ผมเชื่อว่าถ้าเราปรับเงินเดือนให้คนในประเทศ เงินเฟ้อจะไม่เพิ่มขึ้นเท่าไรนัก เนื่องจากปัญหาเงินเฟ้อในปัจจุบันเป็นปัญหาที่มาจากภายนอกประเทศเป็นหลัก ตลาดในประเทศเองมีแต่ตัดราคากันรุนแรงมาก เงินจึงไม่ค่อยจะเฟ้ออยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ย่อมมีข้อเสียอยู่ด้วย นั่นคือ ต่อไปนี้ ประเทศไทยก็จะมีความน่าสนใจในฐานะของ OEMers ในเวทีโลกน้อยลง เพราะคนของเรามีราคาแพงขึ้น เราคงต้องปรับตัวโดยหันไปสร้างจุดเด่นอย่างอื่นขึ้นมาทดแทน แต่ผมก็คิดว่า เราก็มีทางเลือกอื่นอยู่ไม่น้อย ราคาสินค้าเกษตรกำลังเป็นขาขึ้นพอดี แต่ไหนแต่ไรมา เราคือประเทศเกษตรกรรมอยู่แล้ว ถ้าในอนาคตสาวโรงงานต้องหันกลับไปเป็นเกษตรกรกัน ผมก็คิดว่าไม่ใช่เรื่องเสียหาย เป็นเรื่องดีด้วยซ้ำ เพราะเกษตรกรรมคือ strength ที่แท้จริงของประเทศไทย
ไม่อยากให้มองว่าเจ้าสัวพูดเพื่อตัวเอง โลกธุรกิจไม่ใช่ zero sum game ไม่ใช่ว่าคนหนึ่งได้ประโยชน์อีกคนจะต้องเสียประโยชน์เสมอไป แม้ว่าเจ้าสัวจะ ได้ประโยชน์จากการปล่อยให้ราคาสินค้าเกษตรลอยตัว แต่ประเทศไทยโดยรวมก็ได้ประโยชน์ด้วยเช่นกัน (win-win) ไม่ต้องกลัวคนในประเทศซึ้อข้าวแพงแล้วจะลำบาก ลองดูประเทศอาหรับสิครับ เขาปล่อยให้ราคาน้ำมันซึ่งเป็นสินค้าของประเทศเขาเองลอยตัว แล้วมันทำให้คนในประเทศของเขารวยหรือว่าจนล่ะครับ แขกเขารู้จักทำราคาสินค้าของเขาให้แพงๆ ก็เลยรวยเอา รวยเอา แต่บ้านเราพยายามทำราคาสินค้าของเราให้ถูกๆ ได้เงินมาก็เอาซื้อของที่ราคา แพงๆ ก็เลยจนเอา จนเอา อยู่อย่างนี้แหละครับ
ปกติ แล้ว การเพิ่มเงินเดือนให้เมื่อเกิดภาวะข้าวยากหมากแพงจะไม่ช่วยแก้ปัญหา เพราะเงินมีมากขึ้นแต่ของมีเท่าเดิม ของจะยิ่งแพงขึ้นไปอีก สุดท้ายแล้ว กำลังซื้อจะยังคงเท่าเดิมอยู่ แต่ได้ภาวะเงินเฟ้อพ่วงมาด้วย ถ้ามองในมุมนี้ ดูเหมือนทฤษฏีสองสูงของเจ้าสัวธนินท์จะไม่ใช่ทางออกของปัญหาข้าวยากหมากแพง
แต่ผมเห็นด้วยกับแนวคิดนี้ เนื่องจากที่ผ่านมา ราคาสินค้าและค่าแรงของบ้านเราไม่ได้กำหนดด้วยกลไกตลาดแต่ถูกกดเอาไว้ให้ต่ำ กว่าความเป็นจริงมาตลอดเพราะเป็นนโยบาย ถึงเวลาแล้วที่เราจะปล่อยให้ทั้งราคาสินค้าและรายได้ของคน “ลอยตัว” ขึ้นตามความเป็นจริง ไม่ใช่กดเอาไว้เหมือนในอดีต การขึ้นเงินเดือนตามทฤษฏีสองสูงไม่ได้หมายถึงการแจกเงิน แต่หมายถึงการปล่อยให้เงินเดือนลอยตัวขึ้นตามความเป็นจริง
ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศของเราเริ่มทำเกษตรกันน้อยลงและหันมาเป็นผู้รับจ้างผลิต (OEMers) ในเวทีโลกมากขึ้น สินค้าที่ไทยส่งออกได้มากที่สุดทุกวันนี้คือ รับจ้างต่างประเทศผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ เรายังเป็นฐานการผลิตรถยนต์ส่งออกเป็นจำนวนมากอีกด้วย เราไม่ใช่ประเทศที่ทำเกษตรเป็นหลักเหมือนที่สอนไว้ในหนังสือสังคม สินค้าเกษตรในปัจจุบันมีสัดส่วนแค่เพียง 10% ของรายได้ประชาชาติเท่านั้นเอง
การจะเป็น OEMers ในเวทีโลกได้นั้น ค่าแรงจะต้องถูก ที่ผ่านมารัฐบาลจึงมีนโยบายกดค่าแรงมาโดย ตลอด เพื่อให้นักลงทุนต่างชาติเลือกที่จะมาผลิตสินค้าในประเทศไทยเพราะค่าแรง ต่ำ นอกจากนี้ เรายังใช้วิธีกดค่าเงินของเราให้ต่ำเกินความเป็นจริงอีกด้วย เพื่อให้สินค้าที่ผลิตออกจากประเทศไทยมีราคาต่ำเมื่อคิดเป็นเงินดอลล่า ร์ ต่างชาติจะได้อยากซื้อสินค้าที่มีฐานการผลิตในประเทศไทย
นโยบายแบบนี้ที่ผ่านมาไปได้สวย เพราะแม้ว่าเงินเดือนจะน้อย แต่ของก็มีราคาถูก คนในประเทศจึงไม่เดือดร้อนอะไร ในขณะเดียวกัน การจ้างงานก็มีมากเพราะต่างชาติมาลงทุนกันมากเพื่อเอาค่าแรงถูก ดูๆ ไปก็เป็นนโยบายที่ลงตัว แต่พอนานๆ เข้า ราคาสินค้าในประเทศอื่นๆ ในโลกซึ่งเขาไม่ได้ใช้นโยบายกดราคากันก็สูงขึ้นเรื่อยๆ จนเริ่มทิ้งห่างราคาสินค้าในบ้านเราไปอย่างมีนัยสำคัญ บังเอิญว่าเราต้อง ซึ้อสินค้าหลายอย่างจากต่างประเทศเสียด้วย ทั้งน้ำมัน แร่เหล็ก รวมไปถึงสินค้าฟุ่มเฟือยต่างๆ ระดับราคาสินค้าและรายได้ในประเทศที่ต่ำกว่า ตลาดโลกมาก ทำให้คนไทยต้องซื้อสินค้าเหล่านั้นในราคาที่แพงมาก ในขณะเดียวกัน เรายังขายสินค้าของเราในราคาถูกๆ ให้กับโลกเหมือนเดิม
ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องเลิกกลยุทธ์กดราคา ขืนยังปล่อยให้ระดับรายได้และระดับราคาของไทยต่ำกว่าประเทศอื่นๆ เช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ คนไทยจะตายอย่างเขียดในที่สุด….
ผมเชื่อว่าถ้าเราปรับเงินเดือนให้คนในประเทศ เงินเฟ้อจะไม่เพิ่มขึ้นเท่าไรนัก เนื่องจากปัญหาเงินเฟ้อในปัจจุบันเป็นปัญหาที่มาจากภายนอกประเทศเป็นหลัก ตลาดในประเทศเองมีแต่ตัดราคากันรุนแรงมาก เงินจึงไม่ค่อยจะเฟ้ออยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ย่อมมีข้อเสียอยู่ด้วย นั่นคือ ต่อไปนี้ ประเทศไทยก็จะมีความน่าสนใจในฐานะของ OEMers ในเวทีโลกน้อยลง เพราะคนของเรามีราคาแพงขึ้น เราคงต้องปรับตัวโดยหันไปสร้างจุดเด่นอย่างอื่นขึ้นมาทดแทน แต่ผมก็คิดว่า เราก็มีทางเลือกอื่นอยู่ไม่น้อย ราคาสินค้าเกษตรกำลังเป็นขาขึ้นพอดี แต่ไหนแต่ไรมา เราคือประเทศเกษตรกรรมอยู่แล้ว ถ้าในอนาคตสาวโรงงานต้องหันกลับไปเป็นเกษตรกรกัน ผมก็คิดว่าไม่ใช่เรื่องเสียหาย เป็นเรื่องดีด้วยซ้ำ เพราะเกษตรกรรมคือ strength ที่แท้จริงของประเทศไทย
ไม่อยากให้มองว่าเจ้าสัวพูดเพื่อตัวเอง โลกธุรกิจไม่ใช่ zero sum game ไม่ใช่ว่าคนหนึ่งได้ประโยชน์อีกคนจะต้องเสียประโยชน์เสมอไป แม้ว่าเจ้าสัวจะ ได้ประโยชน์จากการปล่อยให้ราคาสินค้าเกษตรลอยตัว แต่ประเทศไทยโดยรวมก็ได้ประโยชน์ด้วยเช่นกัน (win-win) ไม่ต้องกลัวคนในประเทศซึ้อข้าวแพงแล้วจะลำบาก ลองดูประเทศอาหรับสิครับ เขาปล่อยให้ราคาน้ำมันซึ่งเป็นสินค้าของประเทศเขาเองลอยตัว แล้วมันทำให้คนในประเทศของเขารวยหรือว่าจนล่ะครับ แขกเขารู้จักทำราคาสินค้าของเขาให้แพงๆ ก็เลยรวยเอา รวยเอา แต่บ้านเราพยายามทำราคาสินค้าของเราให้ถูกๆ ได้เงินมาก็เอาซื้อของที่ราคา แพงๆ ก็เลยจนเอา จนเอา อยู่อย่างนี้แหละครับ
เอาสินค้าเกษตรไปเทียบกับน้ำมันไม่ได้ สินค้าเกษตรผลิตได้ในเวลารวดเร็วกว่าน้ำมันประเทศต่างๆผลิตได้ น้ำมันมาจากไหน การขุดเจาะน้ำมันต้องสำรวจ แท่นราคาแพงสำรวจแล้วไม่คุ้มที่จะเจาะมาใช้ก็สำรวจฟรี เกตษร หยิ่งเท่าน้ำมันไม่ได้หรอก ขายไม่ออกก็เน่า แต่ความจริงเกษตรน่าจะสำคัญกว่าเพราะกินได้ น้ำมันกินไม่ได้ คงต้องรอไปก่อนให้อาหารขาดแคลนจึงจะตระหนัก
ReplyDelete