กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างถูกต้องจริงหรือ
คริส โปตระนันทน์
บทความนี้เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 18 ตุลาคม 2552
แต่ใจความยังทันสมัย เพราะบัดนี้ รัฐบาลประยุทธ์ กำลังจะปัดฝุ่น ให้ผีภาษีที่ดิน มาหลอกหลอนประชาชนอีกครั้งหนึ่งครับ
ตามที่รัฐบาลประชาธิปัตย์กำลังออกกำหมายเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อมาชดเชยงบประมาณที่ขาดดุลและเพื่อลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนนั้น
กฎหมายทำนองนี้เป็นกฎหมายทำนอง"สังคมนิยม"ซึ่งเคยใช้ในหลายประเทศ แต่ผลแท้จริงที่ได้รับ มักกลายเป็นว่าราคาที่ดินตกต่ำลง แม้จะทำให้คนรวย จนลงได้บ้าง แต่กลับทำให้การลงทุนโดยรวมน้อยลงตาม ส่งผลให้จีดีพีและรายได้ประชาชาติเฉลี่ยรายหัวน้อยลงทั้งประเทศ คนจนจึงพลอยจนลงด้วย ซึ่งนโยบายประชานิยมไม่สามารถชดเชยได้ และภาษีที่ดินน่าจะเก็บได้น้อยมาก
ความจริงนั้นประชาชนไทยในต่างจังหวัดส่วนมากมีที่ดินของตนเอง การที่ราคาที่ดินสูงขึ้นมากตั้งแต่ปี 2530 ตลอดมา ทำให้ประชาชนมีฐานะดีขึ้นเป็นสิบเท่า จึงเป็นผลดีมาก เพราะเขาสามารถใช้ที่ดินเป็นหลักประกันการกู้เงินธนาคารหรือขายที่ดินบางส่วน นำเงินไปลงทุนในท้องถิ่นเช่น ซื้อรถปิกอัพไปใช้เองหรือรับจ้าง ซื้อมอเตอร์ไซค์ เรือหางยาว เครื่องจักรกลการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิต ส่วนคนที่ไม่มีที่ดิน ซึ่งเป็นคนส่วนน้อย ก็ได้ค่าแรงสูงขึ้นด้วย มูลค่าโดยรวมเพิ่มขึ้นตามความเป็นจริง(Net Worth)ของประเทศไทยก็จะสูงขึ้น ซึ่งถ้ากฎหมายฉบับนี้ออกมาได้ ราคาที่ดินจะตกต่ำอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยจนลงยิ่งกว่าสมัยใดๆ เห็นได้ชัดว่า สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นเนื่องจากรัฐบาลใช้นโยบายผิดนั่นเอง
การที่ราคาที่ดินตกลง และทำให้ความอยู่ดีกินดีของประชาชนต่ำลง นั่นก็เนื่องจากภาษีที่ดินจะทำให้ต้นทุน(Cost)ในการถือครองที่ดินสูงขึ้น คนที่ต้องการครอบครองที่ดินจะน้อยลง เพราะหากเป็นเจ้าของที่ดินต้องจ่ายภาษี คนมีที่ดินอยู่ก็จะขายที่ดินออกมาในตลาด เพราะไม่ต้องการจ่ายภาษีเป็นรายปีอีกต่อไป เมื่อความต้องการที่ดินลดลง ราคาก็จะลดลงอย่างแน่นอน มูลค่าโดยรวมของประเทศก็จะตกต่ำอย่างเลี่ยงไม่ได้ ประชาชนจะจนลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งหากพิจารณาตัวอย่างประเทศอื่นๆนั้น จะเห็นว่าประเทศที่เจริญๆ ไม่มีแม้แต่ประเทศเดียวที่ราคาที่ดินถูก ราคาที่ดินนั้นผูกกับความอยู่ดีกินดีของประชาชน ที่ดินในนิวยอร์ก หรือปารีส ราคาสูงมาก แต่ประชาชนก็อยู่ดีกินดีมากเช่นกัน
นอกจากนี้ ที่รัฐบาลประชาธิปัตย์อ้างว่า ภาษีชนิดใหม่นี้ จะทำให้ลดช่องว่างคนจนและคนรวย ก็ไม่จริง แต่กลับจะยิ่งทำให้ช่องว่างเพิ่มมากขึ้นอีก เนื่องจากหลักการใหญ่ๆ ของกฎหมายนี้คือ บีบบังคับให้ประชาชนที่ถือที่ดินเพื่อเก็งกำไร ต้องปล่อยที่ดินออกมาหากไม่ได้ทำประโยชน์ แต่ต้องอย่าลืมว่า คนที่ถูกบังคับโดยกฎหมายนี้ ไม่ใช่เพียงคนรวยเท่านั้น แต่คนจนและคนชั้นกลางซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ ต้องถูกบังคับด้วย ผลเหล่านี้จะได้รับผลกระทบมากที่สุด
หากลองคิดดู ที่ดินราคา 1 ล้านบาทที่ชาวบ้านได้จากมรดกปู่ย่า ต้องเสียภาษีสูงสุดปีละ 2 หมื่นบาท หากไม่ทำประโยชน์(อัตรา 2% จากฐานภาษี ข้อมูลจากมาตรา 29 ร่างพ.ร.บ.นี้ในกรุงเทพธุรกิจ วันที่ 8 ก.ค.2552) หรือหากเป็นที่ดินทั่วไป ทุกคน ทุกชนชั้นต้องเสียภาษีปีละ 5 พันบาท (มาตรา 24(1) 0.5%ของฐานภาษี) ซึ่งด้วยภาษีเหล่านี้ แทบเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับคนธรรมดาที่อยากจะถือครองที่ดิน จึงอาจกล่าวได้ว่า ภาษีที่ดินเป็นสิ่งที่ทำให้คนจนและคนฐานะปานกลาง ไม่มีสิทธิถือครองที่ดินอีกต่อไป คงเหลือแต่สิทธิในการเป็นเจ้าของที่ดินของคนรวย ที่มีเงินจ่ายภาษีเพียงพอเท่านั้น
ขณะที่ข้อดีของภาษีนี้คงมีเพียงจะเป็นช่องทางรายได้ใหม่ของรัฐบาลเท่านั้น หากพิจารณาดูแล้ว แม้ระยะสั้นอาจทำให้รัฐหารายได้มาชดเชยงบประมาณที่ขาดดุลได้ แต่ในระยะยาว เงินภาษีที่ได้จะน้อยมาก เนื่องจากหากที่ดินราคาตกลง เงินภาษีที่เก็บจากฐานภาษีก็จะตกลงตาม เรียกได้ว่า ประโยชน์ที่ได้จากภาษีชนิดนี้ แทบไม่มีเลย ขณะที่ข้อเสียนั้น จะทำให้ประเทศไทยเดินถอยหลังกลับไปหลายก้าวทีเดียว จะกลับสู่จุดที่ว่า คนรวยยิ่งรวยขึ้น คนจนยิ่งจนลง ถึงเวลาแล้วที่ไทยต้องเลือกนโยบายที่จะพาเราก้าวไปข้างหน้า หรือจะเลือกนโยบาย"สังคมนิยม"ที่จะพาประเทศถอยหลัง
บทความนี้เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 18 ตุลาคม 2552
แต่ใจความยังทันสมัย เพราะบัดนี้ รัฐบาลประยุทธ์ กำลังจะปัดฝุ่น ให้ผีภาษีที่ดิน มาหลอกหลอนประชาชนอีกครั้งหนึ่งครับ
ตามที่รัฐบาลประชาธิปัตย์กำลังออกกำหมายเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อมาชดเชยงบประมาณที่ขาดดุลและเพื่อลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนนั้น
ขอขอบคุณภาพจาก Stock tomorrow |
กฎหมายทำนองนี้เป็นกฎหมายทำนอง"สังคมนิยม"ซึ่งเคยใช้ในหลายประเทศ แต่ผลแท้จริงที่ได้รับ มักกลายเป็นว่าราคาที่ดินตกต่ำลง แม้จะทำให้คนรวย จนลงได้บ้าง แต่กลับทำให้การลงทุนโดยรวมน้อยลงตาม ส่งผลให้จีดีพีและรายได้ประชาชาติเฉลี่ยรายหัวน้อยลงทั้งประเทศ คนจนจึงพลอยจนลงด้วย ซึ่งนโยบายประชานิยมไม่สามารถชดเชยได้ และภาษีที่ดินน่าจะเก็บได้น้อยมาก
ความจริงนั้นประชาชนไทยในต่างจังหวัดส่วนมากมีที่ดินของตนเอง การที่ราคาที่ดินสูงขึ้นมากตั้งแต่ปี 2530 ตลอดมา ทำให้ประชาชนมีฐานะดีขึ้นเป็นสิบเท่า จึงเป็นผลดีมาก เพราะเขาสามารถใช้ที่ดินเป็นหลักประกันการกู้เงินธนาคารหรือขายที่ดินบางส่วน นำเงินไปลงทุนในท้องถิ่นเช่น ซื้อรถปิกอัพไปใช้เองหรือรับจ้าง ซื้อมอเตอร์ไซค์ เรือหางยาว เครื่องจักรกลการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิต ส่วนคนที่ไม่มีที่ดิน ซึ่งเป็นคนส่วนน้อย ก็ได้ค่าแรงสูงขึ้นด้วย มูลค่าโดยรวมเพิ่มขึ้นตามความเป็นจริง(Net Worth)ของประเทศไทยก็จะสูงขึ้น ซึ่งถ้ากฎหมายฉบับนี้ออกมาได้ ราคาที่ดินจะตกต่ำอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยจนลงยิ่งกว่าสมัยใดๆ เห็นได้ชัดว่า สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นเนื่องจากรัฐบาลใช้นโยบายผิดนั่นเอง
ขอขอบคุณภาพจาก http://www.brighttv.co.th/ |
การที่ราคาที่ดินตกลง และทำให้ความอยู่ดีกินดีของประชาชนต่ำลง นั่นก็เนื่องจากภาษีที่ดินจะทำให้ต้นทุน(Cost)ในการถือครองที่ดินสูงขึ้น คนที่ต้องการครอบครองที่ดินจะน้อยลง เพราะหากเป็นเจ้าของที่ดินต้องจ่ายภาษี คนมีที่ดินอยู่ก็จะขายที่ดินออกมาในตลาด เพราะไม่ต้องการจ่ายภาษีเป็นรายปีอีกต่อไป เมื่อความต้องการที่ดินลดลง ราคาก็จะลดลงอย่างแน่นอน มูลค่าโดยรวมของประเทศก็จะตกต่ำอย่างเลี่ยงไม่ได้ ประชาชนจะจนลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งหากพิจารณาตัวอย่างประเทศอื่นๆนั้น จะเห็นว่าประเทศที่เจริญๆ ไม่มีแม้แต่ประเทศเดียวที่ราคาที่ดินถูก ราคาที่ดินนั้นผูกกับความอยู่ดีกินดีของประชาชน ที่ดินในนิวยอร์ก หรือปารีส ราคาสูงมาก แต่ประชาชนก็อยู่ดีกินดีมากเช่นกัน
นอกจากนี้ ที่รัฐบาลประชาธิปัตย์อ้างว่า ภาษีชนิดใหม่นี้ จะทำให้ลดช่องว่างคนจนและคนรวย ก็ไม่จริง แต่กลับจะยิ่งทำให้ช่องว่างเพิ่มมากขึ้นอีก เนื่องจากหลักการใหญ่ๆ ของกฎหมายนี้คือ บีบบังคับให้ประชาชนที่ถือที่ดินเพื่อเก็งกำไร ต้องปล่อยที่ดินออกมาหากไม่ได้ทำประโยชน์ แต่ต้องอย่าลืมว่า คนที่ถูกบังคับโดยกฎหมายนี้ ไม่ใช่เพียงคนรวยเท่านั้น แต่คนจนและคนชั้นกลางซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ ต้องถูกบังคับด้วย ผลเหล่านี้จะได้รับผลกระทบมากที่สุด
หากลองคิดดู ที่ดินราคา 1 ล้านบาทที่ชาวบ้านได้จากมรดกปู่ย่า ต้องเสียภาษีสูงสุดปีละ 2 หมื่นบาท หากไม่ทำประโยชน์(อัตรา 2% จากฐานภาษี ข้อมูลจากมาตรา 29 ร่างพ.ร.บ.นี้ในกรุงเทพธุรกิจ วันที่ 8 ก.ค.2552) หรือหากเป็นที่ดินทั่วไป ทุกคน ทุกชนชั้นต้องเสียภาษีปีละ 5 พันบาท (มาตรา 24(1) 0.5%ของฐานภาษี) ซึ่งด้วยภาษีเหล่านี้ แทบเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับคนธรรมดาที่อยากจะถือครองที่ดิน จึงอาจกล่าวได้ว่า ภาษีที่ดินเป็นสิ่งที่ทำให้คนจนและคนฐานะปานกลาง ไม่มีสิทธิถือครองที่ดินอีกต่อไป คงเหลือแต่สิทธิในการเป็นเจ้าของที่ดินของคนรวย ที่มีเงินจ่ายภาษีเพียงพอเท่านั้น
ขณะที่ข้อดีของภาษีนี้คงมีเพียงจะเป็นช่องทางรายได้ใหม่ของรัฐบาลเท่านั้น หากพิจารณาดูแล้ว แม้ระยะสั้นอาจทำให้รัฐหารายได้มาชดเชยงบประมาณที่ขาดดุลได้ แต่ในระยะยาว เงินภาษีที่ได้จะน้อยมาก เนื่องจากหากที่ดินราคาตกลง เงินภาษีที่เก็บจากฐานภาษีก็จะตกลงตาม เรียกได้ว่า ประโยชน์ที่ได้จากภาษีชนิดนี้ แทบไม่มีเลย ขณะที่ข้อเสียนั้น จะทำให้ประเทศไทยเดินถอยหลังกลับไปหลายก้าวทีเดียว จะกลับสู่จุดที่ว่า คนรวยยิ่งรวยขึ้น คนจนยิ่งจนลง ถึงเวลาแล้วที่ไทยต้องเลือกนโยบายที่จะพาเราก้าวไปข้างหน้า หรือจะเลือกนโยบาย"สังคมนิยม"ที่จะพาประเทศถอยหลัง
ตรรกกะเพี้ยนๆ จริงๆ ไม่มีประเทศเจริญแล้วที่ไหน ที่ไม่มีภาษีที่ดิน ในอเมริกา ภาษีที่ดินแพงมาก จนคนรวยไม่ต้องการซื้อที่ดินไว้ครอบครอง ทำให้กลุ่มธุรกิจสามารถหาซื้อที่ดินเพื่อก่อตั้งธุรกิจได้ง่าย ความเห็นข้างบนเฟอะฟะมากๆ
ReplyDelete